วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

กีฬามาราธอน และ กีฬาโอลิมปิก


กีฬามาราธอน 


     กีฬาวิ่งระยะไกล นับเป็นอีกกีฬาหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้แข่งขันได้พัฒนาสุขภาพอนามัยไปสู่คุณสมบัติสูงสุดที่มนุษย์พึงมี กีฬาวิ่งระยะไกลที่สุดที่มีการแข่งขันอย่างเป็นทางการ และบรรจุอยู่ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิก คือการวิ่งมาราธอน(Marathon running)
         การวิ่งมาราธอน (Marathon) เป็นการวิ่งระยะไกล (Long-distance running) ที่มีระยะ 42.195 กิโลเมตร หรือ 26 ไมล์ 385 หลา โดยทั่วไปเป็นการวิ่งบนผิวถนน (Road race) เป็นกิจกรรมการวิ่งที่เฉลิมฉลองให้กับทหารกรีกโบราณที่ชื่อ ฟิดิปปิเดซ” (Pheidippides) ผู้วิ่งส่งสารสงครามแห่งมาราธอน (Battle of Marathon) ไปยังกรุงเอเธน แล้วเสียชีวิตด้วยความเหนื่อยอ่อน

ประวัติความเป็นมา (Origin)

ภาพวาด โดย ลุค โอลิเวอร์ เมอร์ซัน (Luc-Olivier Merson) เมื่อฟิดิปปิเดซ(Pheidippides)
ผู้ทำหน้าที่วิ่งนำข่าวชนะสงครามที่เมืองมาราธอน (Battle of Marathon) มาแจ้งแก่ประชานชาวเอเธนส์ (Athens)

 ชื่อการแข่งขันวิ่งมาราธอน มาจาก Marathon อันเป็นตำนานของ ฟิดิปปิเดซ” (Pheidippides) ผู้ทำหน้าที่ส่งสารชาวกรีก ตามตำนานมีอยู่ว่า เขาถูกให้มาส่งสารสงครามที่มาราธอน (battlefield of Marathon) แก่ชาวเอเธน เพื่อประกาศว่าทัพของเปอร์เซีย (Persians) ได้พ่ายแพ้ในการสู้รบกับกรีก ช่วงที่เกิดเหตุการณ์นี้คือประมาณเดือนกันยายน 490 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานบอกว่า เขาวิ่งตลอดระยะทางนั้น โดยไม่ได้หยุดพักจนมาแจ้งข่าวแก่ที่ประชุม โดยกล่าวคำว่า νικωμεν’ (nikomen) แปลว่า เราได้ชนะสงครามแล้วก่อนที่เขาจะตายไปด้วยความเหนื่อยอ่อน
        ตำนานเล่าขานนี้ปรากฏใน เกียรติศักดิ์แห่งเอเธน” (The Glory of Athens)ในช่วงศตวรรษแรกหลัง คริสตกาล ซึ่งในขณะนั้น ซึ่งได้กล่าวอ้างในงานของHeraclides Ponticus ซึ่งบอกว่าชื่อนักวิ่งว่า เธอซิปุส (Thersipus) แห่ง เออคิอุส (Erchius) หรือ ยูคลิส (Eucles) ซึ่งไม่ใช่ชื่อ Philippides หรือPheidippides
ส่วนงานเขียนของ ลูเซียน แห่ง ซาโมซาตา” (Lucian of Samosata) ได้ให้ชื่อนักวิ่งนี้ว่า Philippides ไม่ใช่ Pheidippides  แปลจาก Wikipedia

             มาราธอน หมายถึง ระยะ 26 ไมล์ 385 หลา แต่ทางแถบเอเซียนิยมใช้เป็น 42.195 กม.

 วิ่งบนถนนทั่วไป (Road Races) คือระยะที่อาจมากหรือน้อยกว่ามาราธอน (Mini Marathon) จะเป็นระยะกี่กิโลก็ตาม แม้แต่ที่เรียกกันว่า ครึ่งมาราธอน (21.100 กม.) ก็เรียกมินิได้เช่นกัน ส่วนคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟมาราธอน ( ซูเปอร์ครึ่งมาราธอน ที่บางคนเข้าใจว่าเป็นระยะมากกว่าครึ่งมาราธอน เช่น 25-30 กม. ความจริงคำว่า ซูเปอร์ฮาล์ฟนี้ฝรั่งไม่รู้จัก พี่ไทยเราตั้งกันเองตามประสาสิบล้อครีเอท แต่ถ้าเป็นระยะที่ยาวกว่ามาราธอน ( 42.195 ) เขาเรียก "Ultramarathon " มักจะมีมาตราฐานไว้ที่ 100 กม. มีการจัดบ่อยในยุโรป ส่วนใหญ่แชมป์จะทำเวลาอยู่ประมาณ 6.30-7 ชม.
      AIMS มีสมาชิกที่เป็นสนามวิ่งอยู่ทั้งหมดทั่วโลก ปัจจุบัน 55 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นสนามแข่งขัน 166 แห่ง สนามวิ่งในประเทศเราที่เป็นสมาชิกของ AIMS มีอยู่ 1 สนาม คือ " กรุงเทพมาราธอน" สนามวิ่งที่เป็นสมาชิกของAIMS จะต้องได้รับการพิสูจน์วัดระยะของเส้นทางแข่งขันในระยะที่ถูกต้องตรงตามมาตราฐานวัดที่สุด กรณีที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางแข่งขันเดิมเลย เมื่อครบ 5 ปี ผู้แทนฝ่ายเทคนิคของ AIMS ซึ่งปัจจุบันร่วมมือกันกับ IAAF ( International Amateur Atheletic Federation ) จะต้องทำการพิสูจน์วัดเส้นทางใหม่ นอกจากดูแลเคร่งครัดเกี่ยวกับความเที่ยงตรงของเส้นทางแข่งขันแล้ว AIMS ยังควบคุมดูแลโครงสร้างการจัดงานที่ได้มาตรฐานอื่น ๆ อีกด้วย

การแข่งขันวิ่งมาราธอนครั้งแรกของโลก
     ปี 1896 ในโอลิมปิคเกมส์ จัดที่เอเธนในระยะทาง 24 ไมล์ 1500 หลา ผู้ชนะในครั้งนั้น เป็นชาวกรีกนั่นเอง คือ สปิริดอน หลุย ( Spyridon Louis ) ทำเวลา2.58.50 ชม.
    ชื่อของ สปิริดอน เป็นประวัติศาสตร์ ปัจจุบันเรามักจะเห็นตัวผลิตภัณฑ์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬานำเอาคำว่า "Spyridon" ไปใช้ เช่น ชื่อบริษัทเกี่ยวกับกีฬา ฯลฯ โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา

ระยะทาง Marathon ถูกเปลี่ยนแปลง
    ปี 1908 มีการจัดโอลิมปิคเกมส์ ที่ London ระยะทางเดิมถูกปรับให้ยาวออกไปเป็น 26 ไมล์ 385 หลา ( 42.195 กม.) ด้วยเหตุผลที่คณะกรรมการยินยอมกำหนดเส้นชัยอยู่ตรงหน้าพระพักตร์เจ้าหญิงพอดี และต่อจากนั้นมาได้ยึดระยะนี้เป็นมาตราฐานจนถึงปัจจุบัน ผู้เป็นแชมป์คนแรกในระยะ 42.195 กม. นี้คนแรกคือ จอห์น เฮย์ (John Hayes) นักวิ่งอเมริกัน ทำเวลา 2.55.18 ชม.

การแข่งขันวิ่งมาราธอนสำหรับประชาชนทั่วไปครั้งแรกในโลก

    ทันทีที่มีการแข่งขันวิ่งมาราธอนในโอลิมปิคเกมส์ที่เอเธนปี ค.ศ. 1896 เมือง "บอสตัน" ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ริเริ่มจัดให้มีการแข่งขัน "วิ่งบอสตันมาราธอน" (Boston Marathon) ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1897 ใช้กฎกติกาการแข่งขันเหมือนโอลิมปิค เพียงแตกต่างกันที่เปิดโอกาสให้นักวิ่งประชาชนทั่วไปเข้าแข่งได้ "บอสตันมาราธอน" จึงกลายเป็นงานวิ่งมาราธอนประเพณีประจำเมืองที่มีอายุมากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบัน 115 ปี และจัดต่อเนื่องกันมามิได้ขาด

ภาพ การวิ่งมาราธอน ที่เบอร์ลิน ปี ค.ศ. 2007


กีฬาโอลิมปิก

      ก่อนหน้าคริสตกาลกว่า 1,000 ปี การแข่งขันกีฬาได้ดำเนินการกันบนยอดเขา โอลิมปัสในประเทศกรีซ โดยนักกีฬาจะต้องเปลือยกายเข้าแข่งขัน เพื่อประกวดความสมส่วนของร่างกาย และยังมีการต่อสู้บางประเภท เช่น กีฬาจำพวกมวยปล้ำ เพื่อพิสูจน์ความแข็งแรง ผู้ชมมีแต่เพียงผู้ชาย ห้ามผู้หญิงเข้าชม ดังนั้นผู้ชมจะต้องปีนขึ้นไปบนยอดเขา ครั้นต่อมามีผู้นิยมมากขึ้น สถานที่บนยอดเขาจึงคับแคบเกินไป ไม่เพียงพอที่จุทั้งผู้เล่นและผู้ชมได้ทั้งหมด ดังนั้น ในปีที่ 776 ก่อนคริสตกาล ชาวกรีกได้ย้ายที่แข่งขันลงมาที่เชิงเขาโอลิมปัส และได้ปรับปรุงการแข่งขันเสียใหม่ให้ดีขึ้น โดยให้ผู้เข้าแข่งขันสวมกางเกง พิธีการแข่งขันจัดอย่างเป็นระเบียบเป็นทางการ มีจักรพรรดิมาเป็นองค์ประธาน อนุญาตให้สตรีเข้าชมการแข่งขันได้ แต่ไม่อนุญาตให้เข้าแข่งขัน ประเภทกรีฑาที่แข่งขันที่ถือเป็นทางการในครั้งแรกนี้ มี 5 ประเภท คือ วิ่ง, กระโดด, มวยปล้ำ, พุ่งแหลน และขว้างจักร ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่ง ๆ จะต้องเล่นทั้ง 5 ประเภท โดยผู้ชนะจะได้รับรางวัล คือ มงกุฎที่ทำด้วยกิ่งไม้มะกอกซึ่งขึ้นอยู่บนยอดเขาโอลิมปัสนั่นเอง และได้รับเกียรติเดินทางท่องเที่ยวไปทุกรัฐ ในฐานะตัวแทนของพระเจ้า


      การแข่งขันได้จัดขึ้น ณ เชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส ที่เดิมเป็นประจำทุก ๆ สี่ปี และถือปฏิบัติติดต่อกันมาโดยไม่เว้น เมื่อถึงกำหนดการแข่งขัน ทุกรัฐจะต้องให้เกียรติ หากว่าขณะนั้นกำลังทำสงครามกันอยู่ จะต้องหยุดพักรบ และมาดูนักกีฬาของตนแข่งขัน หลังจากเสร็จจากการแข่งขันแล้ว จึงค่อยกลับไปทำสงครามกันใหม่ ประเภทของการแข่งขันได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างในระยะต่อ ๆ มา โดยมีการพิจารณาและลดประเภทของกรีฑาเรื่อยมา อย่างไรก็ดีในระยะแรก ๆ นี้กรีฑา 5 ประเภทดังกล่าวที่จัดแข่งขันกันในครั้งแรกก็ยังได้รับเกียรติให้คงไว้ ซึ่งเรียกกันว่า เพ็นตาธรอน หรือ ปัญจกรีฑา ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงกำเนิดของกรีฑา ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการแข่งขันกันอยู่ แต่ประเภทของปัญจกรีฑาได้เปลี่ยนไปตามเวลา



      การแข่งขันได้ดำเนินติดต่อกันมานับเป็นเวลาถึง 1,200 ปี จนมาในปี พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) จักรพรรดิธีโอดอซิดุชแห่งโรมันได้ทรงประกาศให้ยกเลิกการแข่งขันนั้นเสีย เพราะเกิดมีการว่าจ้างกันเข้ามาเล่นเพื่อหวังรางวัล และผู้เล่นปรารถนาสินจ้างมากกว่าการเล่นเพื่อสุขภาพของตน รวมทั้งมีการพนันขันต่อ อันเป็นทางวิบัติซึ่งผิดไปจากวัตถุประสงค์เดิม คือ ผู้เข้าแข่งขันทั้งหลายต่างก็อยากได้ช่อลอเรลซึ่งเป็นรางวัลของผู้ชนะ ด้วยเหตุนี้เอง พระองค์จึงสั่งให้ล้มเลิกการแข่งขันนี้เสีย

http://www.educatepark.com/images/space.gifตลอดระยะเวลาที่มีการแข่งขันนั้น ได้จัดขึ้น ณ บริเวณที่แห่งเดียว คือ เชิงเขาโอลิมปัส แคว้นอีลิส จึงเรียกการแข่งขันตามชื่อของสถานที่ว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก


โอลิมปิกสมัยใหม่ 

http://www.educatepark.com/images/space.gifหลังจากโอลิมปิกโบราณได้ล้มเลิกไปเป็นเวลาถึง 15 ศตวรรษ โอลิมปิกยุคใหม่ก็เกิดขึ้น โดยมีนักกีฬาคนสำคัญของฝรั่งเศสชื่อ บารอน ปิแอร์ เดอ ดูเบอร์แตง ท่านขุนนางผู้นี้เกิดในกรุงปารีส เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2406 (ค.ศ. 1863) สนใจประวัติศาสตร์ ปัญหาการเมืองและสังคม ในปี พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) ท่านอายุได้ 26 ปี ได้เกิดความคิดที่จะฟื้นฟูการแข่งขันโอลิมปิก ซึ่งได้ล้มเลิกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 936 (ค.ศ.393) โดยติดต่อกับบุคคลสำคัญของประเทศอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส เป็นเวลาถึง 4 ปี ในที่สุดได้เปิดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการขึ้น ที่ตำบลซอร์บอนน์ ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) และประกาศ ณ ที่นั้นว่า การแข่งขันโอลิมปิกซึ่งได้หยุดมานานกว่า 15 ศตวรรษ จักได้พื้นขึ้นใหม่เป็นการปัจจุบัน และแผนการของงานโอลิมปิกปัจจุบันนั้น ได้เป็นที่ตกลงกันในที่ประชุมจำนวน 15 ประเทศ ณ ตำบลซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส


http://www.educatepark.com/images/space.gifคณะกรรมการผู้ริเริ่ม ได้ลงมติว่า ให้ทำการเปิดการแข่งขันโอลิมปิกปัจจุบันขึ้น โดยกำหนด 4 ปีต่อ 1 ครั้ง โดยให้ประเทศสมาชิกหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ แต่การเปิดแข่งขันครั้งแรกให้เริ่ม ณ กรุงเอเธนส์ ใน พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการกำเนิดกีฬาโอลิมปิกเมื่อครั้งโบราณ จากนั้นเป็นต้นมา การแข่งขันและวิธีเล่นกรีฑาก็พัฒนาไปอย่างกว้างขวาง และการแข่งขันทุก ๆ ครั้ง ให้ถือเอากรีฑาเป็นกีฬาหลัก ซึ่งจะขาดเสียมิได้ในการแข่งขันแต่ละครั้ง





โอลิมปิกฤดูร้อน

http://www.educatepark.com/images/space.gifกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน หรือ โอลิมปิกเกมส์ เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่จัดขึ้นทุก 4 ปี จัดขึ้นโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) กีฬาโอลิมปิกเป็นกีฬาที่มีเกียรติมากที่สุดในโลก ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่การแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกก็ตาม โดยการแข่งขันฟุตบอลโลกมีผู้ชมมากกว่า โดยมีเหรียญรางวัลเป็นเครื่องตัดสิน ผู้ชนะเลิศนั้ได้เหรียญทอง อันดับสองได้เหรียญเงิน และอันดับสามได้เหรียญทองแดง โดยถือการมอบเหรียญนี้เป็นประเพณีตั้งแต่ปี 1904

http://www.educatepark.com/images/space.gifการแข่งขันนั้นเริ่มต้นครั้งแรกด้วยกีฬาเพียง 42 ประเภท ด้วยนักกีฬาเพียง 250 คน จนมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 10,000 คน ของนักกีฬาชายและหญิงจาก 202 ประเทศทั่วโลก คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ปักกิ่ง คาดการณ์ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน เข้าชิงชัยใน 302 รายการ ในขณะที่กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ประมาณการไว้ว่าจะมีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันประมาณ 10,500 คน แต่ก็เกิดการคลาดเคลื่อนขึ้นเพราะมีผู้เข้าแข่งขันกว่า 11,099 คน ใน 301 รายการแข่งขัน

http://www.educatepark.com/images/space.gifนักกีฬาถูกส่งเข้าแข่งขันโดยคณะกรรมการโอลิมปิกของประเทศต่าง ๆ (NOC-National Olympic Committee) เพื่อแสดงจำนวนพลเมืองในบังคับของประเทศตน เพลงชาติและธงชาติประกอบพิธีมอบเหรียญ และตารางแสดงจำนวนเหรียญที่ชนะ โดยถูกใช้อย่างกว้างขวางในบางประเทศ โดยปกติแล้วเฉพาะประเทศที่ได้รับการรับรองเท่านั้นที่จะมีผู้แทนได้ แต่มีแค่เพียงประเทศมหาอำนาจบางประเทศเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วม

โดยมีเพียง 4 ประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนทุกครั้ง ได้แก่ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร กรีซ และสวิตเซอร์แลนด์ และมีเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่ชนะและได้รับเหรียญทองอย่างน้อย 1 เหรียญจากการแข่งขันทุกครั้ง คือ สหราชอาณาจักร โดยได้รับตั้งแต่ 1 เหรียญทอง ในปี 1904 1952 และ 1996 จนถึงได้รับ 56 เหรียญทอง ในปี 1908







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น